วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การหาประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ

EER/SEER
ค่าแสดงประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศ

ต้องการแอร์ประหยัดไฟ ควรดูที่อะไรบ้าง

ฉลากเบอร์ 5 : แอร์ที่ติดฉลากเบอร์ 5 จะเป็นแอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง ทำให้ประหยัดไฟ
ค่า BTU : เลือกแอร์ที่มี BTU เหมาะสมกับขนาดห้อง จะทำให้ไม่สิ้นเปลือง
ค่า EER/SEER : เพื่อตรวจสอบค่าประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศแต่ละเครื่อง

ความแตกต่างระหว่าง EER กับ SEER

EER (Energy Efficiency Ratio) คือ ค่าที่ใช้วัดประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศ
SEER (Seasonal Energy Efficiency Ratio) คือ ค่าที่ใช้วัดประสิทธิภาพในการใช้พลังงานตามฤดูกาลของเครื่องปรับอากาศ
แต่ SEER จะนำค่าการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ซึ่งมีผลต่อการทำงานของเครื่องปรับอากาศมาพิจารณาร่วมด้วย ทำให้มีความใกล้เคียงกับสภาพการใช้พลังงานจริงมากขึ้นกว่าการกำหนดแบบ EER
                                                                                            ที่มา http://www.newkee-engineering.com/

อัตราส่วนประสิทธิภาพของพลังงานตามฤดูกาล

ประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศมักถูกคิดเป็น อัตราส่วนประสิทธิภาพของพลังงานตามฤดูกาล  Seasonal energy efficiency ratio (SEER)) ซึ่งถูกกำหนดโดย 'สถาบันเครื่องปรับอากาศ, เครื่องทำความร้อน และเครื่องทำความเย็น' ในมาตรฐาน AHRI 210/240 ปี 2008 ของมัน ชื่อว่า "การจัดอันดับความสามารถของเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ปั๊มความร้อนที่ใช้แหล่งที่มาเป็นอากาศ" มาตรฐานที่คล้ายกันคืออัตราส่วนประสิทธิภาพการใช้พลังงานตามฤดูกาลของยุโรป (ESEER)
ค่า SEER ของแต่ละเครื่องหมายถึงค่าความเย็นที่ส่งออกมาในระหว่างฤดูกาลหนึ่งๆหารด้วยพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดที่ใส่เข้าไปในช่วงเวลาเดียวกัน. SEER ยิ่งสูง, ประสิทธิภาพพลังงานก็ยิ่งดี. ในสหรัฐอเมริกา, SEER เป็นอัตราส่วนของความเย็นมีหน่วยเป็น British thermal unit (BTU) ต่อพลังงานที่บริโภคเข้าไปมีหน่วยเป็นวัตต์-ชั่วโมง. ค่าสัมประสิทธิ์ของการปฏิบัติงาน: coefficient of performance (COP)) เป็นการวัดประสิทธิภาพที่ไม่มีหน่วยและเป็นสากลมากกว่าซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป
ตัวอย่างพิจารณาเครื่องปรับอากาศขนาด 5,000 BTU ต่อชั่วโมง (1,500 วัตต์) ที่มี SEER = 10 BTU/W·h, ทำงานรวม 1,000 ชั่วโมงในช่วงฤดูร้อนประจำปี (เช่น 8 ชั่วโมงต่อวันเป็นเวลา 125 วัน)
ความเย็นส่งออกทั้งหมดประจำปีจะเป็น
5000 BTU/h × 8 ชั่วโมง/วัน× 125 วัน/ปี = 5,000,000 BTU/ปี
ด้วย SEER=10 BTU/W·h, การใช้พลังงานไฟฟ้าประจำปีจะเท่ากับ:
5,000,000 BTU/ปี หารด้วย 10 BTU/W·h = 500,000 W·ชั่วโมง/ปี
การใช้พลังงานเฉลี่ยอาจจะถูกคำนวณขึ้นง่ายๆโดย
พลังงานเฉลี่ย = (BTU/h)/(SEER) = 5000/10 = 500 W = 0.5 กิโลวัตต์
หากค่าไฟฟ้าของคุณคือ 5 บาทต่อหน่วย(1 หน่วย=กิโลวัตต์· h) ดังนั้น ค่าใช้จ่ายของคุณต่อชั่วโมงในการใช้งานคือ 0.5 กิโลวัตต์ * 5 บาท/กิโลวัตต์·h = 2.50 บาท/ชั่วโมง

ความสัมพันธ์ของ SEER กับ EER และ COP

อัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงาน  Energy Efficiency Ratio (EER)) ของอุปกรณ์ให้ความเย็นใดๆคืออัตราส่วนของ"การส่งออก" ของพลังงานความเย็น (หน่วยเป็นบีทียู) กับพลังงานไฟฟ้าที่"ใส่เข้าไป" (หน่วยเป็น วัตต์.ชม) ที่อุณหภูมิที่กำหนด. EER โดยทั่วไปถูกคำนวณโดยใช้อุณหภูมิภายนอกที่ 95 °F และอุณหภูมิภายใน (จริงๆแล้วเป็นอากาศที่ไหลย้อนกลับ)ที่ 80 °F และที่ความชื้นสัมพัทธ์ 50%
SEER มีความสัมพันธ์กับค่าสัมประสิทธิ์ของการปฏิบัติงาน (COP) ที่ใช้กันทั่วไปในอุณหพลศาสตร์ : thermodynamics) ที่มีความแตกต่างหลักที่ว่า COP ของอุปกรณ์ให้ความเย็นเป็นแบบไม่มีหน่วย เพราะเศษและส่วนจะแสดงในหน่วยเดียวกันและหักล้างกันเอง. SEER ใช้หน่วยผสม ดังนั้นจึงไม่ได้มีความรู้สึกทางกายภาพในทันทีและสามารถหาได้จากการคูณ COP (หรือ EER) กับปัจจัยการแปลงจาก BTU/h ให้เป็นวัตต์ ดังนั้น
SEER = 3.41214 × COP (ดูBritish thermal unit)
  SEER นอกจากนี้ยังเป็น COP (หรือ EER) ที่แสดงในรูปของ BTU/W·h อีกด้วย แต่แทนที่จะถูกประเมินที่สภาวะการดำเนินงานเพียงจุดเดียว มันแสดงความหมายถึงประสิทธิภาพที่คาดหวังโดยรวมสำหรับสภาวะอากาศของปีโดยทั่วไปในสถานที่ที่กำหนด SEER จึงถูกคำนวณด้วยอุณหภูมิในร่มเดียวกัน แต่ในช่วงของอุณหภูมิภายนอกจาก 65 °F (18 °C) ถึง 104 °F (40 °C) ด้วยร้อยละที่กำหนดแน่นอนของเวลาในแต่ละ 8 ถังกระจาย 5 °F (2.8 °C) ไม่มีค่าเผื่อสำหรับสภาพอากาศที่แตกต่างกันในความจุนี้  ซึ่งมีความตั้งใจเพื่อชี้ให้เห็นว่า EER ถูกกระทบได้อย่างไรโดยช่วงของอุณหภูมิภายนอกตลอดฤดูการให้ความเย็น
EER ทั่วไปสำหรับเครื่องทำความเย็นกลางสำหรับที่อยู่อาศัย = 0.875 × SEER. SEER จะมีค่าสูงกว่า EER สำหรับอุปกรณ์เดียวกัน
วิธีการรายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับการแปลง SEER ให้เป็น EER ใช้สูตรนี้
EER = -0.02 × SEER² + 1.12 × SEER. โปรดทราบว่าวิธีการนี้จะใช้สำหรับการสร้างแบบจำลองที่เป็น benchmark เท่านั้นและไม่เหมาะสมสำหรับสภาพภูมิอากาศทั้งหมด
SEER = 13 จะอยู่ที่ประมาณเทียบเท่ากับ EER = 11 และ COP = 3.2 ซึ่งหมายความว่า 3.2 หน่วยของความร้อนจะถูกย้ายออกจากภายในบ้านต่อหนึ่งหน่วยของพลังงานที่ใช้ในการเปิดใช้เครื่องปรับอากาศ

ค่าสูงสุดตามทฤษฎี

SEER และ EER ของเครื่องปรับอากาศเครื่องหนึ่งจะถูกจำกัดโดยกฎของอุณหพลศาสตร์. กระบวนการทำความเย็นที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่เป็นไปได้คือ Carnot cycle COP ของเครื่องปรับอากาศที่ใช้ Carnot cycle คือ
เมื่อ  คืออุณหภูมิในห้องและ  คืออุณหภูมินอกห้อง อุณหภูมิทั้งสองจะต้องได้รับการวัดโดยใช้ระดับอุณหภูมิของอุณหพลศาสตร์ที่มีพื้นฐานที่ศูนย์สัมบูรณ์เช่นอุณหภูมิเป็น Kelvin หรือ Rankine. EER จะคำนวณได้จากการคูณ COP ด้วย 3.412 BTU/Wตามที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น
สมมติว่าอุณหภูมินอกห้อง = 95 °F (35 °C) และอุณหภูมิในห้อง = 80 °F (27 °C) สมการข้างต้นจะให้ (เมื่ออุณหภูมิถูกแปลงเป็นเคลวินหรือแรนกิ้น) COP = 36 หรือ EER = 120 ตัวเลขนี้จะเป็นประสิทธิภาพมากขึ้นประมาณ 10 เท่ามากกว่าเครื่องปรับอากาศที่ใช้ในบ้านทั่วไปที่มีอยู่ในปัจจุบัน
EER ที่สูงสุดจะลดลงเมื่อความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของอากาศภายในและภายนอกเพิ่มขึ้นและในทางกลับกัน. ในอากาศแบบทะเลทรายที่อุณหภูมิภายนอกคือ 120 °F (49 °C) COP สูงสุดจะตกลงมาถึง 13 หรือ EER ที่ 46 (สำหรับอุณหภูมิในร่ม 80 °F (27 °C))
SEER สูงสุดสามารถคำนวณได้โดยการเฉลี่ยค่าสูงสุดของ EER ในช่วงอุณหภูมิที่คาดไว้ตลอดฤดูกาล
                                                                                            ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki


การวิเคราะห์สมรรถนะของเครื่องปรับอากาศแบบหน่วยเดียว

รายการเครื่องมือวัดที่จำเป็น
ได้แก่ Power Meter หรือ kW Meter, Thermometer (เครื่องมือวัดอุณหภูมิ), Anemometer (เครื่องมือวัดความเร็ว
อากาศ), Hygrometer (เครื่องมือวัดความชื้นสัมพัทธ์) และPsychometric Chart (แผนภูมิอากาศ)
โดยมีแนวทางการเก็บข้อมูล มีดังนี้
1 บันทึกค่าความเร็วลมผ่านหน้าตัดของช่องลมกลับ ในหน่วย m/s โดยควรวัดหลาย ๆ จุดให้ทั่วทั้งหน้าตัดแล้วหาเป็นค่าเฉลี่ย
2 วัดขนาดพื้นที่หน้าตัดของช่องลมกลับ แล้วนำไปคูณกับค่าความเร็วลมเฉลี่ยเพื่อหาปริมาณลมหมุนเวียนผ่านคอยล์เย็นได้
3 บันทึกค่าอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของลมจ่าย (Supply Air) เพื่อนำไปหาค่าเอนทาลปีของลมจ่าย (he) จากแผนภูมิ Psychometric
4 บันทึกค่าอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของลมกลับ (Return Air) เพื่อนำไปหาค่าเอนทาลปีของลมกลับ (hi) จากแผนภูมิ Psychometric

5 บันทึกค่าการใช้กำลังไฟฟ้าของพัดลมเป็น kW ด้วย Power Meter



เครื่องวัดความเร็วลม(Anemometer)

(ที่มา  http://www.nanasupplier.com/)



เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ (Hygrometer)

(ที่มา  http://www.measuretronix.com/)


ไซโครเมตริกชาร์ท(Psychometricchart )

(ที่มา  http://mte.kmutt.ac.th/)



ตารางค่าเอนธาลปีของอากาศ




หาปริมาณลมเย็นหมุนเวียนผ่านเครื่องปรับอากาศโดยใช้เครื่องมือวัดความเร็วลม




หาอุณหภูมิ(C) และความชื้นสัมพัทธ์ (%RH) ของอากาศทางด้านลมส่ง




หาอุณหภูมิ(C) และความชื้นสัมพัทธ์ (%RH) ของอากาศทางด้านลมกลับ


สมรรถนะการทำความเย็นประสิทธิภาพของระบบปรับอากาศแสดงในรูปของค่าสมรรถนะการทำความเย็น (Coefficient of Performance, COP) ซึ่งนิยามด้วย อัตราส่วนของพลังงานความร้อนที่ถูกดูดซับโดยคอยล์เย็น (ปริมาณความเย็นที่ทำได้) ต่อพลังงานไฟฟ้าที่ระบบใช้
Cop=QL/Ecomp
QL = อัตราการทำความเย็น, kW
Ecomp = ความต้องการไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ, kW
ค่า COP สูงแสดงถึงประสิทธิภาพที่ดีของระบบปรับอากาศ สำหรับค่า COP ที่พิจารณาเฉพาะพลังงาน
ที่ใช้ในคอมเพรสเซอร์ เป็นเพียงค่าที่แสดงประสิทธิภาพของการทำความเย็นเท่านั้น ส่วนค่าสมรรถนะของทั้ง
ระบบ (System COP, SCOP) จะต้องรวมพลังงานที่จ่ายให้กับพัดลมและเครื่องสูบน้ำด้วย ค่า SCOP สูงหมายถึงระบบปรับอากาศที่ใช้พลังงานน้อย

ในทางปฏิบัติ สมรรถนะของระบบปรับอากาศยังสามารถแสดงได้ในรูปของ ค่าอัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงาน (Energy Efficiency Ratio, EER) และค่ากิโลวัตต์ต่อตันความเย็น (kW/TR) โดยค่า EERซึ่งมีหน่วยเป็น บีทียูต่อชั่วโมง/วัตต์ นิยมใช้แสดงค่าประสิทธิภาพการทำความเย็นของเครื่องชนิดไดเร็คเอ็กส์แพนชั่นหรือเครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก ส่วนค่ากิโลวัตต์ต่อตันความเย็น นิยมใช้แสดงค่าประสิทธิภาพการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ เช่น ระบบน้ำเย็น

แอร์ส่วนใหญ่นิยมบอกขนาดเป็นบีทียู (BTU)   เป็นคำย่อมาจากภาษาอังกฤษว่า   British  thermal   units   ความหมายของ  1  บีทียู ก็คือ     ปริมาณความร้อนที่เพิ่มอุณหภูมิของน้ำ  1  ปอนด์ (0.45  กิโลกรัม)  ขึ้น  1  องศาฟาเรนไฮต์  (0.56 องศาเซลเซียส)   
     EER  ย่อมาจาก  energy  efficiency  rating  คือ อัตราส่วนของ บีทียูกับ กำลังวัตต์
การหาค่าEER = บีทียู/ชั่วโมง ÷กำลังไฟฟ้า(วัตต์)
ตัวอย่าง  มีแอร์ขนาด 40,488.84 btu  และกำลังไฟฟ้าที่ ใช้มีค่า 3,534.60 w
จากสูตร EER = บีทียู/ชั่วโมง ÷กำลังไฟฟ้า(วัตต์)
               EER=  40,488.84btu  ÷  3,534.60 w
               EER= 11.45
ค่า COP หรือค่า Coefficient of Performance (COP)
C.O.P มาจาก คำว่า COEFFICIENT OF PERFORMANCE แปลเป็นไทย ว่า "ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่อง " ที่มาคือ COOLING CAPACITY(Kw) / POWER INPUT จะได้ C.O.P.
มีการหาโดยใช้สูตร
1 WATT = 3.412 บีทียู
 COP = EER / 3.142
จากสูตร COP = EER / 3.142
               COP =11.45/3.142
               COP = 3.644

เพราะฉะนั้นเครื่องปรับอากาศตัวนี้จะมีค่า EER=11.45  และ COP= 3.644

2 ความคิดเห็น:

  1. เป็นบทความที่ดีมีประโยชน์ครับ

    ตอบลบ
  2. Playtech - DrmCD
    Playtech has a strong portfolio of products to 강원도 출장샵 complement and 문경 출장샵 extend 남원 출장마사지 the gaming portfolio by integrating some of the most 당진 출장샵 renowned companies in the business. 성남 출장안마 Our focus is License: Malta Gaming Authority

    ตอบลบ