วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การติดตั้ง และบำรุงรักษา

อุปกรณ์หลักในการติดตั้งแอร์ พร้อมหน้าที่ในการใช้งาน


        สว่าน : มีหน้าที่ในการเจาะกำแพง เพื่อติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ทั้งติดผนัง เพดาน รวมไปถึงตั้งพื้น สว่านที่ดีจะต้องมีความทนทาน ทนแรงกระแทก และรองรับความร้อนสูงในการใช้งานติดกันได้

        หัวเจาะกลม : มีไว้เพื่อเจาะรูท่อแอร์ให้เป็นวงกลม ได้ขนาดพอดีกับท่อ ลดรอยแตกร้าวขณะเจาะ เหมาะสำหรับใช้เจาะรูท่อแอร์ รูท่อสารทำความเย็นในการติดตั้ง

                                                      ที่มา http://www.mymarket.in.th/

        Bender : มีหน้าที่ใช้ตัดท่อทองแดง ใช้กับท่อหลายขนาดตั้งแต่ 3 หุน – 8 หุน โดยเน้นความแม่นยำ และองศาในการตัด ซึ่งจะตรงไม่ตรงนั้นขึ้นอยู่กับความชำนาญของช่าง และความคมทนของใบมีด


        ถังน้ำยาแอร์ : มีหน้าที่เก็บน้ำยาแอร์หลายประเภท ขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องปรับอากาศ เพื่อใช้เติมเข้าสู่เครื่องปรับอากาศ เช่น R-22 , R410โดยมาตรฐานการเติมน้ำยาแอร์ จะวัดจากแรงดันประมาณ แรงดันต่ำสุดที่ "70 – 80 ปอนด์" และ แรงดันสูงสุดที่ "270 – 280 ปอนด์" (ต่อตารางนิ้ว)



        เกจวัดน้ำยา : มีหน้าที่ควบคุมและวัดปริมาณน้ำยาแอร์ในระบบ สามารถใช้คู่กับเครื่องปั๊มสูญญากาศ เพื่อวัดดูค่าของปริมาณอากาศในระบบได้อีกด้วย ซึ่งต้องแยกชนิดการใช้งาน ระหว่า R-22 กับ R-410ไม่สามารถใช้เกจวัดตัวเดียวกันได้ เนื่องจากความแตกต่างของความดันน้ำยาแอร์ที่ไม่เท่ากัน



        เครื่องปั๊มสูญญากาศ : มีหน้าที่ไล่อากาศ และความชื้นออกจากระบบ หรือเรียกว่าการทำแวคคั่ม เพื่อให้น้ำยาแอร์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ อาจใช้เวลาในการทำนาน แต่จำเป็นต้องทำ เพื่ออายุการใช้งานของแอร์ที่ยาวนาน

      ประแจเลื่อน : เป็นเครื่องมือสำหรับขันหรือไขน็อตขนาดใหญ่ส่วนมากแล้วสำหรับงานแอร์ใช้สำหรับขันบานแฟลหรือเซอร์วิสวาล์วที่คอล์ยร้อน

        
        ไขควง : สำหรับสิ่งนี้ไม่มีไม่ได้ครับแนะนำให้เป็นแบบสลับด้ามได้เป็นเพราะการรื้อหรือประกอบแอร์นั้นแต่ละยี่ห้ออาจจะมีน็อตไม่เหมือนกันดังนั้นการสลับด้ามได้จึงเป็นสิ่งที่สะดวกรวดเร็วสำหรับช่างแอร์อย่างยิ่ง




การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ

ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน(Split Type) ที่ใช้ตามบ้านทั่วๆไปก่อนดังนี้

การเลือกตำแหน่งติดตั้งเครื่องปรับอากาศ

ตำแหน่งคอนเด็นซิ่งยูนิต ( CDU ) ที่เหมาะสม
1. บริเวณที่ติดตั้งเครื่องต้องแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักและแรงสั่นสะเทือนจากการทำงานได้
2.ในกรณีที่คอนเด็นซิ่งตั้งวางบนพื้นดินต้องทำฐานรองรับเครื่องด้วยคอนกรีต
3. ติดตั้งในบริเวณที่อากาศถ่ายเทได้สะดวกและห่างจากมุมอับ
4. บริเวณที่ติดตั้งต้องมีการระบายน้ำได้ดีหรือที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง
5. การวางคอนด็นซิ่งยูนิตควรมีลูกยางรองเพื่อลดแรงสั่นสะเทือนจากการทำงานของตัวเครื่อง
6. ควรวาง CDU ให้ห่างจากพื้นที่ใช้สอยทั่วไปเพื่อหลีกเลี่ยงจากปัญหาเรื่องเสียงรบกวน
7. อย่าตั้งเครื่องชิดกับคอนเด็นซิ่งยูนิตอื่นหรือผนังเพราะทำให้ระบายความร้อนยาก
8. หลีกเลี่ยงการติดตั้งในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี เช่น มีความเป็นกรดสูง,แสงแดดแรงหรือมีน้ำหยด
9. ควรวาง CDU ในบริเวณที่สามารถเข้าไปตรวจซ่อมภายหลังได้อย่างสะดวก
ตำแหน่งแฟนคอยล์ยูนิต ( FCU) ที่เหมาะสม
1. ตั้งในบริเวณที่สามารถกระจายลมได้ทั่วทั้งห้องอย่าติดตั้งเครื่องในมุมอับ
2. อย่าให้สิ่งของกีดขวางทางไหลของอากาศเพราะจะทำให้อากาศหมุนเวียนไม่สะดวก
3. บริเวณที่ติดตั้งเครื่องต้องแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักและแรงสั่นสะเทือนจากการทำงานได้
4. หลีกเลี่ยงการวาง FCU ใกล้กับประตูหน้าต่างหรือพัดลมดูดอากาศ
5. ควรวาง FCU ในบริเวณที่สามารถตรวจซ่อมภายหลังได้อย่างสะดวก
6. อย่าตั้งชิดผนังที่โดนแดดจัดเพราะจะทำให้ได้รับความร้อนจากภายนอกได้ง่าย
7. พยายามติดตั้งแฟนคอยล์ยูนิตให้อยู่ใกล้กับคอนเด็นซิ่งยูนิตจะทำให้ประสิทธิภาพสูงสุด
การติดตั้งท่อน้ำยา
ระบบท่อน้ำยานับว่าเป็นส่วนที่มีความสำคัญมากที่สุดในการติดตั้งเครื่องปรับอากาศแบบแยก ส่วนการเลือกใช้ขนาดท่อที่มีขนาดเล็กเกินไปจะมีผลทำให้เกิดปัญหาตามมาเช่น ทำให้ประสิทธิ ภาพของเครื่องต่ำลงหรือความดันตกคร่อม (Pressure Drop) ระหว่างท่อมากเกินไป เป็นต้น ดังนั้นในการเลือก ใช้ขนาดท่อน้ำยาต้องคำนึงถึง
1. PIPE DIAMETER ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อน้ำยา
2. PIPE LENGTH ความยาวท่อน้ำยา
3. NUMBER OF FITTINGS จำนวนของข้อต่อต่างๆ เช่น ข้องอ
4. FLUID VELOCITY ความเร็วในการเคลื่อนที่ของสารทำความเย็น

การเลือกใช้ท่อน้ำยาควรเลือกตามคู่มือติดตั้งเครื่องปรับอากาศนั้นๆ แต่ถ้าไม่ทราบก็สามารถหา ขนาดคร่าวๆได้จากแผนผังคำนวณขนาดท่อน้ำยาซึ่งโดยทั่วไปกำหนดความดันตกคร่อมด้านดูด (Suction Line Pressure Drop) 2 PSI/100 FT และความดันตกคร่อมด้านส่ง (Discharge Line PressureDrop) 4 PSI/100 FT.

นอกจากการเลือกใช้ขนาดท่อน้ำยาที่ถูกต้องแล้ว การเดินท่อน้ำยายังต้องทำอย่างถูกหลักการอีก ด้วยจึงจะทำให้เครื่องทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ระบบท่อน้ำยาต้องทำความสะอาดให้ดีและ แห้งและในการเดินท่อน้ำยาต้องคำนึงถึงความเร็วของไอน้ำยาให้มากพอที่จะพาน้ำมันหล่อลื่น กลับคอมเพรสเซอร์ด้วย ดังนั้นในการติดตั้งคอนเด็นซิ่งและอีวาพอเรเตอร์ในระดับที่ต่างกันจะ ต้องคำนึงถึง

1. การติดตั้งอีวาพอเรเตอร์ต่ำกว่าคอนเด็นซิ่ง จะมีผลให้น้ำมันกลับเข้าคอมเพรสเซอร์น้อยเพราะ คอมเพรสเซอร์อยู่สูงกว่า ดังนั้นการเดินท่อด้านดูดต้องคำนึงถึงความดันตกคร่อมและเรื่องน้ำมัน กลับด้วย

2. การติดตั้งคอนเด็นซิ่งต่ำกว่าอีวาพอเรเตอร์ จะมีผลให้ความดันตกลงเพราะคอมเพรสเซอร์ต้อง อัดน้ำยาขึ้นที่สูง ดังนั้นการเดินท่อด้านส่งต้องคำนึงถึงความดันตกคร่อมจากความเสียดทานและ การเดินท่อในแนวดิ่ง

การเดินท่อน้ำยาด้านดูดเมื่อตำแหน่งการวางอีวาพอเรเตอร์และคอนเด็นซิ่งอยู่ในลักษณะต่างๆ เป็นดังนี้

1. เมื่อคอนเด็นซิ่งอยู่เหนืออีวาพอเรเตอร์
ให้ทำที่กักน้ำมัน(Oil Trap) เพื่อให้แน่ใจว่า น้ำมันที่อยู่ในระบบจะไหลกับขึ้นไปยังคอม เพรสเซอร์ การทำที่กักน้ำมันควรทำให้ใกล้ อีวาพอเรเตอร์ที่สุดเท่าที่จะทำได้
2. เมื่อคอนเด็นซิ่งอยู่เหนืออีวาพอเรเตอร์ให้ทำที่กักน้ำมันทุกๆช่วงความสูง 4.5 ม. ทั้งนี้เพื่อให้เก็บกักน้ำมันเอาไว้ในขณะ ที่คอมเพรสเซอร์เริ่มทำงานอีกครั้ง น้ำมัน จากที่กักน้ำมันนี้จะถูกดูดไปหล่อลื่นคอม เพรสเซอร์ได้ทันที (ไม่ควรเดินท่อในแนวดิ่งสูงเกินกว่า 15 ม.)

การเดินท่อน้ำยาต่อระบบทำความเย็นยาวเกิน 10 เมตร จะต้องเติมน้ำมันหล่อลื่นเพิ่มเติมเพื่อ ชดเชยผลของฟิล์มน้ำมันที่ตกค้างผิวด้านในของท่อดูด ตามอัตราตารางต่อไปนี้ต่อทุกๆความยาว 1 เมตรที่เดิน การเติมน้ำมันให้ดูจาก OIL SIGHT GLASS (ถ้ามี) โดยให้อยู่ในช่วง 1/2 ถึง 3/4 ของ OIL SIGHT GLASS
       ขนาดท่อ อัตราเติมน้ำมันต่อทุกความยาว 1 เมตร
                              3/8 7.5 มิลลิเมตร (ซี.ซี)
                              1/2 10 มิลลิเมตร (ซี.ซี)
                              5/8 20 มิลลิเมตร (ซี.ซี)
                              3/4 30 มิลลิเมตร (ซี.ซี)
                              7/8 40 มิลลิเมตร (ซี.ซี)
                              1-1/8 50 มิลลิเมตร (ซี.ซี)
เมื่อเดินท่อน้ำยาผ่านผนัง,กำแพง ควรบุหรือห่อด้วยฉนวน ซึ่งสามารถลดการสั่นสะเทือนได้ ส่วน ท่อด้านดูดต้องหุ้มฉนวนตลอดความยาวของท่อ ฉนวนที่ใช้หุ้มท่อนี้ต้องมีความหนาอย่างน้อย 1/2 นิ้ว โดยปกติแล้วท่อด้านส่งไม่จำเป็นต้องหุ้มฉนวน ยกเว้นในกรณีที่เดินท่อผ่านบริเวณที่มี อุณหภูมิสูง เช่น ห้องหม้อน้ำหรือกลางแดดร้อนจัด ควรจะใช้ฉนวนยางที่มีความหนาอย่างน้อย 3/8 นิ้ว หุ้มห่อด้านส่งด้วย และต้องเพิ่มความหนาของฉนวนด้านดูดขึ้นเป็นพิเศษด้วยอย่างน้อย หนา 3/4 นิ้ว

การติดตั้งท่อน้ำทิ้ง
        ท่อน้ำทิ้งจัดว่าเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง ถ้าติดตั้งไม่ดีอาจมีผลให้น้ำไม่สามารถระบายออกและขัง อยู่ในตัวเครื่องจนล้นออกมาภายนอกสร้างความเสียหายให้บริเวณรอบๆเครื่องได้ ท่อน้ำทิ้งโดย มากจะใช้ท่อ S-LON หรือท่อ PVC โดยต่อออกจากตัวเครื่องอีวาพอเรเตอร์ ท่อน้ำทิ้งควรจะหุ้ม ฉนวนตรงบริเวณที่อาจจะเกิดมีการ condensate โดยเฉพาะถ้าเดินท่ออยู่ในฝ้าเพดาน นอกจาก นี้ท่อน้ำทิ้งควรทำ TRAP ด้วย

การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ
        เพื่อให้เครื่องปรับอากาศทำงานเต็มประสิทธิภาพและมีอายุการใช้งานยาวนานจึงควรหมั่น ดูแลบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ มีข้อแนะนำโดยทั่วไปเกี่ยวกับการบำรุงรักษาดังนี้
1. หมั่นตรวจสอบและทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศของแฟนคอยล์ยูนิตทุกสองสัปดาห์
2. แผงอีวาพอเรเตอร์คอยล์และคอนเด็นเซอร์คอยล์ควรทำความสะอาด 3-6 เดือนต่อครั้ง
3. มอเตอร์พัดลมทั้งแฟนคอยล์ยูนิตและคอนเด็นซิ่งยูนิตต้องมีการตรวจเช็คทุก 6 เดือน และทำการหล่อลื่น โดยการอัดจาระบีหรือหยอดน้ำมันอย่างสม่ำเสมอ
4. ตรวจดูถาดน้ำทิ้ง ทำความสะอาดเพื่อให้การไหลของน้ำทิ้งเป็นไปอย่างสมบูรณ์
5. ตรวจดูทิศทางลมเข้าออกของแฟนคอยล์ยูนิต ต้องไม่มีวัสดุปิดขวางทางลม
6. ตรวจสอบและซ่อมแซมฉนวนท่อน้ำยาที่ต่อระหว่างคอนเด็นซิ่งยูนิตและแฟนคอยล์ยูนิต
7. ตรวจสอบหน้าต่างและประตูว่ามีรูรั่วทำให้อากาศร้อนจากภายนอกเข้าสู่อาคารหรือไม่
8. ติดต่อช่างบริการที่เชื่อถือได้เพื่อตรวจสอบเครื่องอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

วิธีใช้เครื่องปรับอากาศอย่างประหยัด
       การใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือนหรืออาคารสำนักงานประมาณ 60% จะใช้กับระบบปรับอากาศ ฉะนั้น ถ้าใช้เครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพต่ำหรือปล่อยให้มีความร้อนเกิดขึ้นภายในห้องโดยไม่ จำเป็นย่อมก่อให้ผู้ใช้เสียค่าไฟฟ้ามากกว่าความจำเป็น

       การประหยัดไฟฟ้าสำหรับเครื่องปรับอากาศนั้นสามารถดำเนินการได้ด้วยวิธีการต่างๆทั้งวิธี การที่ไม่ต้องลงทุน และลงทุนเล็กน้อยซึ่งผลจากการดำเนินงานนั้นจะไม่ทำให้ความสะดวก สบายที่ได้รับจากการใช้เครื่องปรับอากาศต้องลดน้อยลงแต่จะลดค่าไฟฟ้าลงจากปกติ วิธีการ ประหยัดมีดังต่อไปนี้

การเลือกเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสม
1. เลือกเครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง คือ ให้ความเย็นมากแต่กินไฟน้อย โดยดูที่การ กินไฟฟ้าเป็นวัตต์ หรือแอมปโดยควรเลือกที่มีค่าน้อย หรือดูจากค่า COP หรือ EER (Energy Efficiency Ratio) ซึ่งค่ายิ่งสูงยิ่งดี
2. เลือกขนาดเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสมกับห้อง
3. ควรเลือกอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิหรือเทอร์โมสตัทที่มีความเที่ยงตรงสูง เช่น เทอร์โมสตัท ชนิดอิเล็กทรอนิกส์

4. เปลี่ยนเครื่องปรับอากาศใหม่ทดแทนเครื่องปรับอากาศเก่าที่มีประสิทธิภาพต่ำ เนื่องจาก ใช้งานมานาน การเปลี่ยนเครื่องใหม่ควรพิจารณาเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูง

การลดความร้อนจากภายนอก
การลดความร้อนจากภายนอกที่ผ่านเข้ายังบริเวณที่ปรับอากาศโดยผ่านผนังหลังคาและพื้น โดยพิจารณาเป็นส่วนๆดังนี้
1. การลดความร้อนผ่านผนัง
       1.1 ผนังกระจก เป็นสิ่งหนึ่งที่ความร้อนจากภายนอกสามารถแผ่เข้ามาได้มาก มีวิธีแก้ไขหลาย วิธีคือ
             1.1.1 ใช้เครื่องบังแดดภายในอาคาร
             - ใช้กันสาดในแนวตั้งและแนวนอน หรือการหลบแนวหน้าต่างเข้ามาภายใน
             - สำหรับกระจกที่หันไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ควรติดกันสาดในแนวนอน
             - ส่วนกระจกที่หันไปทางทิศเหนือและทิศใต้ ควรใช้กันสาดในแนวตั้ง
             - ปลูกต้นไม้บังแดดสำหรับกระจก ทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก
              1.1.2 ใช้ผ้าม่านหรือมู่ลี่สีอ่อนบังแดดภายในด้านหลังกระจกโดยเลือกใช้มู่ลี่ชนิดใบอยู่ในแนว นอนสำหรับกระจกทางทิศเหนือหรือทิศใต้ ส่วนกระจกทางทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตกควร ใช้มู่ลี่ชนิดใบอยู๋ในแนวดิ่ง
               1.1.3 เลือกกระจกที่มีคุณสมบัติยอมให้แสงผ่านได้น้อย โดยกระจกที่หันไปทางทิศตะวันตก หรือตะวันออกควรใช้กระจกกรองแสงหรือแสงสะท้อน
               1.1.4 พยายามใช้กระจกเท่าที่จำเป็นโดยเฉพาะด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของอาคาร
1.2 ผนังอาคารที่เป็นปูน
               1.2.1 ทาสีด้านนอกด้วยสีขาวหรือสีอ่อนหรือใช้วัสดุผิวมัน เช่นกระเบื้องเคลือบเพื่อช่วยสะท้อน แสง
               1.2.2 ควรปลูกต้นไม้หรือสร้างที่บังแดดเพื่อให้ร่มเงาแก่ผนัง
               1.2.3 ผนังห้องปรับอากาศโดยเฉพาะด้านทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตก ซึ่งไม่มีเงากำบังหรือ ห้องข้างเคียงเป็นห้องครัว หรือเป็นห้องที่มีความร้อนมากควรบุฉนวนกันความร้อน
        1.3 ผนังอาคารที่เป็นไม้หากมีช่องห่างของไม้มากควรตีผนังด้านในด้วยไม้อัดเพื่อกันการผ่าน ของ ความร้อนจากภายนอกเข้ามาในอาคาร
2. การลดความร้อนผ่านหน้าต่าง
       2.1 หน้าต่างควรมีเฉพาะทิศเหนือหรือทิศใต้ของอาคาร เพื่อลดการรับแสงแดดโดยตรง
       2.2 ต้องพยายามไม่ให้มีรอยรั่วตามขอบประตูหน้าต่างหรือบริเวณฝ้าเพดาน
       2.3 หน้าต่างส่วนที่เป็นกระจกให้ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผนังกระจก
3. การลดความร้อนผ่านหลังคาและฝ้าเพดาน
       3.1 หลังคาที่เป็นสังกะสีหรือกระเบื้อง ควรตีฝ้าหรือติดตั้งวัสดุสะท้อนความร้อน หรือบุฉนวน กันความร้อน เพื่อช่วยลดความร้อนที่จะแผ่เข้ามาในอาคาร
       3.2 ถ้ามีช่องว่างระหว่างหลังคากับฝ้ามากควรเจาะช่องลมเพื่อระบายอากาศจะทำให้ประหยัด การปรับอากาศได้
4. การลดความร้อนผ่านพื้น หากเป็นพื้นไม้ควรอุดช่องระหว่างไม้ให้สนิท แอร์จะได้ไม่รั่ว ออกไป
5. การปรับปรุงในส่วนของรูปแบบอาคาร
       5.1 ออกแบบและกำหนดทิศทางของอาคารให้อยู่ในลักษณะที่ความร้อนจากภายนอกเข้ามา ในอาคารน้อยที่สุด
       5.2 การเลือกสีผนัง,เพดาน และเครื่องตกแต่งอาคารควรเป็นสีอ่อน เพื่อช่วยในการสะท้อน แสงทำให้ห้องสว่างและใช้ดวงไฟน้อยลง
       5.3 อาคารที่มีพื้นที่หรือห้องซึ่งไม่ได้ใช้งานประจำอยู่ทางทิศตะวันตกจะช่วยกันความร้อน ไม่ให้เข้ามาถึงห้องที่ใช้สอยประจำ ทำให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้าในการปรับอุณหภูมิห้องที่ ใช้สอยประจำลงได้

การลดความร้อนจากดวงไฟและอุปกรณ์ภายใน
1. พยายามใช้แสงธรรมชาติช่วยส่องสว่างภายในอาคารและควรจะปิดไฟที่ไม่จำเป็น
2. ภายในอาคารควรใช้สีอ่อน เพื่อช่วยในการสะท้อนแสงทำให้ใช้ดวงไฟน้อยลง
3. เลือกใช้หลอดไฟที่มีประสิทธิภาพการส่องสว่างสูง เช่น ใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์แทน หลอดไฟแบบมีไส้
4. อุปกรณ์ที่ให้ความร้อนมากควรใช้นอกห้อง เช่น เตารีด เครื่องปิ้งขนมปัง หรือกาต้มน้ำ
5. ติดตั้งฝาครอบระบายอากาศ สำหรับเครื่องหุงต้มทุกชนิดถ้าจำเป็นต้องใช้ในห้องปรับอากาศ

วิธีใช้เครื่องปรับอากาศอย่างถูกต้อง
1. ตั้งอุณหภูมิให้เหมาะสมไม่เย็นจัดจนเกินไป โดยปกติขณะนอนหลับควรตั้งที่ 78 F (26 C) แต่ถ้าทำงานตั้งไว้ประมาณ 75 F (24 C)
2.ควรติดตั้งเทอร์โมสตัทให้ใกล้กับคอยล์ของอีวาพอเรเตอร์ในตำแหน่งลมกลับเข้าเครื่อง เพื่อทำให้การตัดต่อเป็นไปอย่างถูกต้อง
3. เริ่มต้นเปิดเครื่องควรปรับระดับความเร็วพัดลมที่ความเร็วสูง (Hi) ก่อนเพราะจะทำให้เย็น เร็วพอเย็นได้ที่แล้วควรปรับลดไปเป็นลมต่ำ (Low)
4. ควรปิดประตู หน้าต่าง ให้มิดชิดอย่าเปิดหน้าต่างทิ้งไว้ เพราะความร้อนจะเข้ามา
5. เปิดใช้เครื่องปรับอากาศเฉพาะส่วนและในเวลาที่จำเป็น ช่วงที่อากาศไม่ค่อยร้อนให้ปิดเครื่องปรับอากาศ แล้วเปิดหน้าต่างเพื่อให้ลมพัดถ่ายเท
6. หมั่นล้างทำความสะอาดคอยล์ รวมทั้งแผงกรองอากาศให้สะอาดอยู่เสมอ
7. อย่าให้มีสิ่งกีดขวางทางลมทั้งที่แฟนคอยล์ยูนิต(ชุดที่อยู่ในห้อง)
....................................................11 ก.ค 59 ..................................................................

การหาประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ

EER/SEER
ค่าแสดงประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศ

ต้องการแอร์ประหยัดไฟ ควรดูที่อะไรบ้าง

ฉลากเบอร์ 5 : แอร์ที่ติดฉลากเบอร์ 5 จะเป็นแอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง ทำให้ประหยัดไฟ
ค่า BTU : เลือกแอร์ที่มี BTU เหมาะสมกับขนาดห้อง จะทำให้ไม่สิ้นเปลือง
ค่า EER/SEER : เพื่อตรวจสอบค่าประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศแต่ละเครื่อง

ความแตกต่างระหว่าง EER กับ SEER

EER (Energy Efficiency Ratio) คือ ค่าที่ใช้วัดประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศ
SEER (Seasonal Energy Efficiency Ratio) คือ ค่าที่ใช้วัดประสิทธิภาพในการใช้พลังงานตามฤดูกาลของเครื่องปรับอากาศ
แต่ SEER จะนำค่าการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ซึ่งมีผลต่อการทำงานของเครื่องปรับอากาศมาพิจารณาร่วมด้วย ทำให้มีความใกล้เคียงกับสภาพการใช้พลังงานจริงมากขึ้นกว่าการกำหนดแบบ EER
                                                                                            ที่มา http://www.newkee-engineering.com/

อัตราส่วนประสิทธิภาพของพลังงานตามฤดูกาล

ประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศมักถูกคิดเป็น อัตราส่วนประสิทธิภาพของพลังงานตามฤดูกาล  Seasonal energy efficiency ratio (SEER)) ซึ่งถูกกำหนดโดย 'สถาบันเครื่องปรับอากาศ, เครื่องทำความร้อน และเครื่องทำความเย็น' ในมาตรฐาน AHRI 210/240 ปี 2008 ของมัน ชื่อว่า "การจัดอันดับความสามารถของเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ปั๊มความร้อนที่ใช้แหล่งที่มาเป็นอากาศ" มาตรฐานที่คล้ายกันคืออัตราส่วนประสิทธิภาพการใช้พลังงานตามฤดูกาลของยุโรป (ESEER)
ค่า SEER ของแต่ละเครื่องหมายถึงค่าความเย็นที่ส่งออกมาในระหว่างฤดูกาลหนึ่งๆหารด้วยพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดที่ใส่เข้าไปในช่วงเวลาเดียวกัน. SEER ยิ่งสูง, ประสิทธิภาพพลังงานก็ยิ่งดี. ในสหรัฐอเมริกา, SEER เป็นอัตราส่วนของความเย็นมีหน่วยเป็น British thermal unit (BTU) ต่อพลังงานที่บริโภคเข้าไปมีหน่วยเป็นวัตต์-ชั่วโมง. ค่าสัมประสิทธิ์ของการปฏิบัติงาน: coefficient of performance (COP)) เป็นการวัดประสิทธิภาพที่ไม่มีหน่วยและเป็นสากลมากกว่าซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป
ตัวอย่างพิจารณาเครื่องปรับอากาศขนาด 5,000 BTU ต่อชั่วโมง (1,500 วัตต์) ที่มี SEER = 10 BTU/W·h, ทำงานรวม 1,000 ชั่วโมงในช่วงฤดูร้อนประจำปี (เช่น 8 ชั่วโมงต่อวันเป็นเวลา 125 วัน)
ความเย็นส่งออกทั้งหมดประจำปีจะเป็น
5000 BTU/h × 8 ชั่วโมง/วัน× 125 วัน/ปี = 5,000,000 BTU/ปี
ด้วย SEER=10 BTU/W·h, การใช้พลังงานไฟฟ้าประจำปีจะเท่ากับ:
5,000,000 BTU/ปี หารด้วย 10 BTU/W·h = 500,000 W·ชั่วโมง/ปี
การใช้พลังงานเฉลี่ยอาจจะถูกคำนวณขึ้นง่ายๆโดย
พลังงานเฉลี่ย = (BTU/h)/(SEER) = 5000/10 = 500 W = 0.5 กิโลวัตต์
หากค่าไฟฟ้าของคุณคือ 5 บาทต่อหน่วย(1 หน่วย=กิโลวัตต์· h) ดังนั้น ค่าใช้จ่ายของคุณต่อชั่วโมงในการใช้งานคือ 0.5 กิโลวัตต์ * 5 บาท/กิโลวัตต์·h = 2.50 บาท/ชั่วโมง

ความสัมพันธ์ของ SEER กับ EER และ COP

อัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงาน  Energy Efficiency Ratio (EER)) ของอุปกรณ์ให้ความเย็นใดๆคืออัตราส่วนของ"การส่งออก" ของพลังงานความเย็น (หน่วยเป็นบีทียู) กับพลังงานไฟฟ้าที่"ใส่เข้าไป" (หน่วยเป็น วัตต์.ชม) ที่อุณหภูมิที่กำหนด. EER โดยทั่วไปถูกคำนวณโดยใช้อุณหภูมิภายนอกที่ 95 °F และอุณหภูมิภายใน (จริงๆแล้วเป็นอากาศที่ไหลย้อนกลับ)ที่ 80 °F และที่ความชื้นสัมพัทธ์ 50%
SEER มีความสัมพันธ์กับค่าสัมประสิทธิ์ของการปฏิบัติงาน (COP) ที่ใช้กันทั่วไปในอุณหพลศาสตร์ : thermodynamics) ที่มีความแตกต่างหลักที่ว่า COP ของอุปกรณ์ให้ความเย็นเป็นแบบไม่มีหน่วย เพราะเศษและส่วนจะแสดงในหน่วยเดียวกันและหักล้างกันเอง. SEER ใช้หน่วยผสม ดังนั้นจึงไม่ได้มีความรู้สึกทางกายภาพในทันทีและสามารถหาได้จากการคูณ COP (หรือ EER) กับปัจจัยการแปลงจาก BTU/h ให้เป็นวัตต์ ดังนั้น
SEER = 3.41214 × COP (ดูBritish thermal unit)
  SEER นอกจากนี้ยังเป็น COP (หรือ EER) ที่แสดงในรูปของ BTU/W·h อีกด้วย แต่แทนที่จะถูกประเมินที่สภาวะการดำเนินงานเพียงจุดเดียว มันแสดงความหมายถึงประสิทธิภาพที่คาดหวังโดยรวมสำหรับสภาวะอากาศของปีโดยทั่วไปในสถานที่ที่กำหนด SEER จึงถูกคำนวณด้วยอุณหภูมิในร่มเดียวกัน แต่ในช่วงของอุณหภูมิภายนอกจาก 65 °F (18 °C) ถึง 104 °F (40 °C) ด้วยร้อยละที่กำหนดแน่นอนของเวลาในแต่ละ 8 ถังกระจาย 5 °F (2.8 °C) ไม่มีค่าเผื่อสำหรับสภาพอากาศที่แตกต่างกันในความจุนี้  ซึ่งมีความตั้งใจเพื่อชี้ให้เห็นว่า EER ถูกกระทบได้อย่างไรโดยช่วงของอุณหภูมิภายนอกตลอดฤดูการให้ความเย็น
EER ทั่วไปสำหรับเครื่องทำความเย็นกลางสำหรับที่อยู่อาศัย = 0.875 × SEER. SEER จะมีค่าสูงกว่า EER สำหรับอุปกรณ์เดียวกัน
วิธีการรายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับการแปลง SEER ให้เป็น EER ใช้สูตรนี้
EER = -0.02 × SEER² + 1.12 × SEER. โปรดทราบว่าวิธีการนี้จะใช้สำหรับการสร้างแบบจำลองที่เป็น benchmark เท่านั้นและไม่เหมาะสมสำหรับสภาพภูมิอากาศทั้งหมด
SEER = 13 จะอยู่ที่ประมาณเทียบเท่ากับ EER = 11 และ COP = 3.2 ซึ่งหมายความว่า 3.2 หน่วยของความร้อนจะถูกย้ายออกจากภายในบ้านต่อหนึ่งหน่วยของพลังงานที่ใช้ในการเปิดใช้เครื่องปรับอากาศ

ค่าสูงสุดตามทฤษฎี

SEER และ EER ของเครื่องปรับอากาศเครื่องหนึ่งจะถูกจำกัดโดยกฎของอุณหพลศาสตร์. กระบวนการทำความเย็นที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่เป็นไปได้คือ Carnot cycle COP ของเครื่องปรับอากาศที่ใช้ Carnot cycle คือ
เมื่อ  คืออุณหภูมิในห้องและ  คืออุณหภูมินอกห้อง อุณหภูมิทั้งสองจะต้องได้รับการวัดโดยใช้ระดับอุณหภูมิของอุณหพลศาสตร์ที่มีพื้นฐานที่ศูนย์สัมบูรณ์เช่นอุณหภูมิเป็น Kelvin หรือ Rankine. EER จะคำนวณได้จากการคูณ COP ด้วย 3.412 BTU/Wตามที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น
สมมติว่าอุณหภูมินอกห้อง = 95 °F (35 °C) และอุณหภูมิในห้อง = 80 °F (27 °C) สมการข้างต้นจะให้ (เมื่ออุณหภูมิถูกแปลงเป็นเคลวินหรือแรนกิ้น) COP = 36 หรือ EER = 120 ตัวเลขนี้จะเป็นประสิทธิภาพมากขึ้นประมาณ 10 เท่ามากกว่าเครื่องปรับอากาศที่ใช้ในบ้านทั่วไปที่มีอยู่ในปัจจุบัน
EER ที่สูงสุดจะลดลงเมื่อความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของอากาศภายในและภายนอกเพิ่มขึ้นและในทางกลับกัน. ในอากาศแบบทะเลทรายที่อุณหภูมิภายนอกคือ 120 °F (49 °C) COP สูงสุดจะตกลงมาถึง 13 หรือ EER ที่ 46 (สำหรับอุณหภูมิในร่ม 80 °F (27 °C))
SEER สูงสุดสามารถคำนวณได้โดยการเฉลี่ยค่าสูงสุดของ EER ในช่วงอุณหภูมิที่คาดไว้ตลอดฤดูกาล
                                                                                            ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki


การวิเคราะห์สมรรถนะของเครื่องปรับอากาศแบบหน่วยเดียว

รายการเครื่องมือวัดที่จำเป็น
ได้แก่ Power Meter หรือ kW Meter, Thermometer (เครื่องมือวัดอุณหภูมิ), Anemometer (เครื่องมือวัดความเร็ว
อากาศ), Hygrometer (เครื่องมือวัดความชื้นสัมพัทธ์) และPsychometric Chart (แผนภูมิอากาศ)
โดยมีแนวทางการเก็บข้อมูล มีดังนี้
1 บันทึกค่าความเร็วลมผ่านหน้าตัดของช่องลมกลับ ในหน่วย m/s โดยควรวัดหลาย ๆ จุดให้ทั่วทั้งหน้าตัดแล้วหาเป็นค่าเฉลี่ย
2 วัดขนาดพื้นที่หน้าตัดของช่องลมกลับ แล้วนำไปคูณกับค่าความเร็วลมเฉลี่ยเพื่อหาปริมาณลมหมุนเวียนผ่านคอยล์เย็นได้
3 บันทึกค่าอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของลมจ่าย (Supply Air) เพื่อนำไปหาค่าเอนทาลปีของลมจ่าย (he) จากแผนภูมิ Psychometric
4 บันทึกค่าอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของลมกลับ (Return Air) เพื่อนำไปหาค่าเอนทาลปีของลมกลับ (hi) จากแผนภูมิ Psychometric

5 บันทึกค่าการใช้กำลังไฟฟ้าของพัดลมเป็น kW ด้วย Power Meter



เครื่องวัดความเร็วลม(Anemometer)

(ที่มา  http://www.nanasupplier.com/)



เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ (Hygrometer)

(ที่มา  http://www.measuretronix.com/)


ไซโครเมตริกชาร์ท(Psychometricchart )

(ที่มา  http://mte.kmutt.ac.th/)



ตารางค่าเอนธาลปีของอากาศ




หาปริมาณลมเย็นหมุนเวียนผ่านเครื่องปรับอากาศโดยใช้เครื่องมือวัดความเร็วลม




หาอุณหภูมิ(C) และความชื้นสัมพัทธ์ (%RH) ของอากาศทางด้านลมส่ง




หาอุณหภูมิ(C) และความชื้นสัมพัทธ์ (%RH) ของอากาศทางด้านลมกลับ


สมรรถนะการทำความเย็นประสิทธิภาพของระบบปรับอากาศแสดงในรูปของค่าสมรรถนะการทำความเย็น (Coefficient of Performance, COP) ซึ่งนิยามด้วย อัตราส่วนของพลังงานความร้อนที่ถูกดูดซับโดยคอยล์เย็น (ปริมาณความเย็นที่ทำได้) ต่อพลังงานไฟฟ้าที่ระบบใช้
Cop=QL/Ecomp
QL = อัตราการทำความเย็น, kW
Ecomp = ความต้องการไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ, kW
ค่า COP สูงแสดงถึงประสิทธิภาพที่ดีของระบบปรับอากาศ สำหรับค่า COP ที่พิจารณาเฉพาะพลังงาน
ที่ใช้ในคอมเพรสเซอร์ เป็นเพียงค่าที่แสดงประสิทธิภาพของการทำความเย็นเท่านั้น ส่วนค่าสมรรถนะของทั้ง
ระบบ (System COP, SCOP) จะต้องรวมพลังงานที่จ่ายให้กับพัดลมและเครื่องสูบน้ำด้วย ค่า SCOP สูงหมายถึงระบบปรับอากาศที่ใช้พลังงานน้อย

ในทางปฏิบัติ สมรรถนะของระบบปรับอากาศยังสามารถแสดงได้ในรูปของ ค่าอัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงาน (Energy Efficiency Ratio, EER) และค่ากิโลวัตต์ต่อตันความเย็น (kW/TR) โดยค่า EERซึ่งมีหน่วยเป็น บีทียูต่อชั่วโมง/วัตต์ นิยมใช้แสดงค่าประสิทธิภาพการทำความเย็นของเครื่องชนิดไดเร็คเอ็กส์แพนชั่นหรือเครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก ส่วนค่ากิโลวัตต์ต่อตันความเย็น นิยมใช้แสดงค่าประสิทธิภาพการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ เช่น ระบบน้ำเย็น

แอร์ส่วนใหญ่นิยมบอกขนาดเป็นบีทียู (BTU)   เป็นคำย่อมาจากภาษาอังกฤษว่า   British  thermal   units   ความหมายของ  1  บีทียู ก็คือ     ปริมาณความร้อนที่เพิ่มอุณหภูมิของน้ำ  1  ปอนด์ (0.45  กิโลกรัม)  ขึ้น  1  องศาฟาเรนไฮต์  (0.56 องศาเซลเซียส)   
     EER  ย่อมาจาก  energy  efficiency  rating  คือ อัตราส่วนของ บีทียูกับ กำลังวัตต์
การหาค่าEER = บีทียู/ชั่วโมง ÷กำลังไฟฟ้า(วัตต์)
ตัวอย่าง  มีแอร์ขนาด 40,488.84 btu  และกำลังไฟฟ้าที่ ใช้มีค่า 3,534.60 w
จากสูตร EER = บีทียู/ชั่วโมง ÷กำลังไฟฟ้า(วัตต์)
               EER=  40,488.84btu  ÷  3,534.60 w
               EER= 11.45
ค่า COP หรือค่า Coefficient of Performance (COP)
C.O.P มาจาก คำว่า COEFFICIENT OF PERFORMANCE แปลเป็นไทย ว่า "ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่อง " ที่มาคือ COOLING CAPACITY(Kw) / POWER INPUT จะได้ C.O.P.
มีการหาโดยใช้สูตร
1 WATT = 3.412 บีทียู
 COP = EER / 3.142
จากสูตร COP = EER / 3.142
               COP =11.45/3.142
               COP = 3.644

เพราะฉะนั้นเครื่องปรับอากาศตัวนี้จะมีค่า EER=11.45  และ COP= 3.644